ทำไมถึงมีกลิ่นปาก สาเหตุของอาการปากเหม็น

กลิ่นปาก

กลิ่นปาก มักจะเกิดจากการที่เราดูแลสุขภาพช่องปากไม่ถูกวิธีหรือไม่ดีพอ เช่น การแปรงฟันไม่สะอาด ทำให้มีเศษอาหารติดค้างตามซอกฟัน เชื้อโรคในปากก็มาย่อยสลายเศษอาหารเหล่านั้น ทำให้เกิดกลิ่นปากขึ้นมา นอกจากการทำความสะอาดฟันแล้ว อย่าลืมทำความสะอาดลิ้นด้วยนะคะ เนื่องจากลิ้นของเรามีปุ่มรับรสจำนวนมาก เศษอาหาร แบคทรีเรีย สามารถติดได้ง่าย ถ้าสังเกตุดูบางทีหลังทานอาหารจะเห็นว่าบนลิ้นมีคราบขาวๆอยู่ นี่ก็เป็นอีกตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดกลิ่นปากคะ
นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การทานอาหารที่มีกลิ่นฉุน การสูบบุหรี่ การใส่ฟันปลอมที่ไม่สะอาด โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ เป็นต้น

สาเหตุของ กลิ่นปาก

  • การไม่รักษาสุขภาพช่องปากให้ดีก็ทำให้มีกลิ่นปากได้ เช่น แปรงฟันไม่สะอาดทำให้มีคราบอาหารหรือคราบแบคทีเรียมาเกาะอยู่ตามผิวฟัน ลิ้น หรือกระพุ้งแก้ม
  • ลิ้นเป็นฝ้าเป็นสาเหตุหนึ่งของกลิ่นปาก ลิ้นที่เป็นฝ้านั้นเกิดจากการสะสมของเศษอาหารและแบคทีเรียบนผิวด้านบนของลิ้น
  • น้ำลาย ก็มีส่วนทำให้เกิดกลิ่นปากได้ ถ้าหากน้ำลายน้อยก็จะชำระล้างเศษอาหารได้ไม่หมดจนทำให้เกิดกลิ่นปาก รวมไปถึงผู้ที่มีน้ำลายข้นเหนียวก็จะชำระล้างเศษอาหารได้ไม่ดีเท่าผู้ที่มีน้ำลายใส และนี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำไมเมื่อตื่นนอนจึงมักมีกลิ่นปาก นั่นเป็นเพราะในขณะหลับจะมีการไหลเวียนของน้ำลายน้อย ดังนั้นถ้ารู้สึกว่าคอแห้งปากแห้งก็ให้ดื่มน้ำบ่อย ๆ
  • หินปูนเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของกลิ่นปาก หากมีหินปูนต้องให้ทันตแพทย์ทำการขูดออก
  • ฟันผุเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของกลิ่นปาก จะทำให้เศษอาหารไปติดค้างอยู่ในรูฟันที่ผุจนเกิดการบูดเน่าและทำให้เกิดกลิ่นเหม็นมาก
  • แผลในช่องปากเมื่อเป็นแผลจะทำให้เกิดกลิ่นปากได้ และเมื่อแผลหายกลิ่นปากก็จะลดลง นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นได้ภายหลังการถอนฟันหรือการผ่าตัดในช่องปาก เนื่องจากขณะมีแผลผู้ป่วยจะใช้ฟันบดเคี้ยวอาหารได้ไม่ถนัด ทำให้มีอาหารติดฟันได้มากและง่ายขึ้น
  • โรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์เหงือกอักเสบเนื่องจากมีหินปูน มีการทำลายอวัยวะรอบรากฟัน เหงือกอ้าออกจากตัวฟัน ทำให้มีเศษอาหารเข้าไปสะสมได้ง่ายขึ้นและแปรงออกไม่หมดจนเกิดเป็นหินปูนอยู่ภายใน แล้วทำให้เกิดการอักเสบ ในรายที่เหงือกอ้าออกมากและมีหินปูนเข้าไปสะสมอยู่มากก็อาจจะต้องทำการผ่าตัดเปิดเหงือกออกเพื่อกำจัดหินปูนออกให้หมดก่อน แล้วจึงปิดเหงือกกลับเข้าไปตามเดิม สำหรับผู้ที่เป็นและเคยรักษาโรคปริทันต์มาแล้ว หรือขจัดคราบอาหารออกได้หมด ก็ต้องใช้เครื่องมือทำความสะอาดเพิ่มเติม เช่น ไหมขัดฟัน แปรงซอกฟัน แผ่นเทปรัดฟัน เป็นต้น
  • การรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดกลิ่นก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของกลิ่นปาก เช่น กระเทียม หัวหอม เครื่องเทศ สะตอ ชีส ทุเรียน ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดกลิ่นปากได้ แต่เมื่อถูกย่อยหรือดูดซึมและขับถ่ายออกหมดแล้ว กลิ่นก็จะหายไป (แต่ถ้ารับประทานต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดกลิ่นปากอย่างต่อเนื่องได้เช่นกัน)
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นเหล้าหรือเบียร์ก็ล้วนแต่เป็นต้นเหตุของกลิ่นปาก
  • ยาบางชนิดเช่น ยารักษาผู้ป่วยโรคจิตบางตัว ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรัง ก็ทำให้เกิดกลิ่นได้
  • ผู้ที่สูบบุหรี่นาน ๆจะทำให้ลมหายใจและลมปากมีกลิ่นเหม็น
  • ผู้ที่ใส่ฟันปลอมหรือใส่เครื่องมือต่าง ๆ ในปากเช่น เครื่องมือจัดฟัน เครื่องมือกันฟันล้มเก เฝือกสบฟัน เป็นต้น ถ้าหากรักษาความสะอาดไม่ดีพอก็ทำให้มีกลิ่นได้ โดยเฉพาะเครื่องมือที่ทำด้วยหรือมีส่วนผสมของอะคริลิกอยู่ด้วย เนื่องจากเนื้ออะคริลิกจะมีรูพรุนที่สามารถดูดซึมของเหลวต่าง ๆ ได้ หากล้างไม่สะอาดอาหารก็จะบูดเน่าติดอยู่กับเครื่องมือเหล่านี้จนทำให้เกิดกลิ่นได้ ดังนั้นควรทำสะอาดทุกครั้งหลังจากถอดแล้ว ถ้าไม่ใช้ก็ควรแช่ไว้ในน้ำสะอาด และก่อนนำมาใช้ก็ให้ทำความสะอาดอีกรอบ ถ้ามีคราบหรือหินปูนเกาะก็ให้ใช้น้ำยาสำหรับแช่ฟันปลอมโดยเฉพาะแช่ไว้เป็นครั้งคราว

 

สำหรับใครที่มีปัญหากลิ่นปากอยู่ในตอนนี้ ลองดูแลด้วยตัวเองก่อนง่ายๆ เช่น แปรงฟันให้ถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ทำความสะอาดลิ้นทุกครั้งที่แปรงฟันโดยการแปรงลิ้น นอกจากนั้นควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟันทุก 6 เดือนนะคะ

  

ติดต่อเรา สไมล์ ซิกเนเจอร์ สำนักงานใหญ่ (รัชดาภิเษก)

คลินิกทันตกรรม สไมล์ ซิกเนเจอร์ รัชดาภิเษก
เลขที่ 257/26, 257/27 โครงการ The Wiz Ratchada
ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพ 10400
(ใกล้กับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีรัชดาภิเษก ทางออกที่ 1)

มือถือ : 083 095 0218
โทรศัพท์ : 02 693 6933, 02 693 7822

Line ID : @smilesignature

คลินิกทันตกรรม สไมล์ ซิกเนเจอร์
ทุกสาขาใกล้บ้านคุณ

คลิกดูสาขาทั้งหมด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาข้อมูลการบริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน

Save